การวางแผนการบินโดรน เพื่อคุณภาพการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ
1. ขึ้นทะเบียนโดรน
โดรนทุกประเภทต้องขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองโดรนได้ที่สำนักงาน กสทช. (NBTC) โดยโดรนที่มีคุณสมบัติดังนี้
1. โดรนที่มีกล้องบันทึกภาพต้องขึ้นทะเบียนโดรนทุกกรณี
2. โดรนที่น้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม – 25 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียนโดรนทุกกรณี
3. โดรนที่น้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังลือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
สถานที่ลงทะเบียนโดรน
1. ขออนุญาตใช้คลื่นความถี่โดรนที่ สำนักงาน กสทช.
2. ขึ้นทะเบียนนักบินโดดน ที่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ที่เว็บไซต์ https://uav.caat.or.th/
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://uav.caat.or.th/faq.php
2. เช็คอุปกรณ์โดรน ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนทำการบิน
ก่อนการบินสำรวจ ในหลักของการบิน คืออุปกรณ์ทำการบินของเราก็คือ โดรน เพราะฉะนั้น เราจึงควรตรวจสอบอุปกรณ์ของโดรน ว่าครบถ้วนตามคู่มืออุปกรณ์หรือเปล่า โดยโดรนแต่ละรุ่น จะมีอุปกรณ์ที่ต่างกันออกไป แต่หลักๆแล้วนั้น ส่วนสำคัญของอุปกรณ์การบินจะมีคล้ายๆกัน
3. วางแผนการบิน กำหนดรูปแบบการบินให้เหมาะสมกับพื้นที่สำรวจ
การวางแผนการบิน ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนนึงเลยก็ว่าได้ครับ สำหรับมือใหม่ บทความนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเริ่มขึ้นบินสำรวจ
4.ตรวจสอบสภาพอากาศ
ต้องมีการเช็คสภาพอากาศวันและเวลาที่จะทำการขึ้นบิน เพื่อความปลอดภัยของโดรน และผู้คนหรือทรัพย์สินบริเวณที่ทำการบิน ไม่ควรนำโดรนขึ้นบิน หากมีกระแสลม ฝนตก หรือพายุฝนฟ้าคะนองในบริเวณพื้นที่สำรวจ และหากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง หรือมีฝนตกขณะทำการบิน ควรยกเลิกภารกิจให้โดรนบินกลับในทันที
5. ขออนุญาตขึ้นบินในบริเวณที่จะสำรวจ
ศึกษาเอกสารในการขออนุญาต ในบริเวณพื้นที่สำคัญที่ต้องได้รับการอนุญาต นั้น ๆ เช่น สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เขตอุทยานแห่งชาติ
ข้อควรระวัง : ห้ามบังคับเข้าใกล้เขตพื้นที่ของสนามบิน ในระยะ 9 กิโลเมตร (ห้าไมล์ทะเล) หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดําเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต